Archies

ซื้อประกันรถออนไลน์กับ 724 ต้องทำอย่างไร ?

724car-insure-onlineซื้อประกันรถออนไลน์กับ 724 ต้องทำอย่างไร ?

การซื้อประกันออนไลน์ สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกับการซื้อของบนแพลทฟอร์มออนไลน์ชื่อดังต่าง ๆ เนื่องจากใช้งานง่าย แถมยังสะดวก และรวดเร็วอีกด้วย

แต่บางคนอาจยังไม่คุ้นชินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 724 ประกันออนไลน์ จึงอยากขอนำเสนอวิธีซื้อประกันออนไลน์ที่ง่ายแสนง่าย มาให้ได้รับทราบกัน ดังนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ 724 ประกันออนไลน์ https://insure.724.co.th/
2. สมัครสมาชิกกับ 724 ประกันออนไลน์ เพื่อรับส่วนลดฟรี โดยสามารถสมัครได้ด้วย Facebook , Gmail , Line หรือ E-mail ได้ที่ลิงก์นี้ https://member.724.co.th/register_member
3. เลือกหัวข้อประกันภัยรถยนต์
4. กดเลือกยี่ห้อ รุ่น ปี และชั้นประกันที่ต้องการ
5. เลือกตัวคัดกรองข้อมูลที่ต้องการ
6. ดูแผนประกันที่ตรงใจ ทั้งราคา และความคุ้มครอง จากนั้นกด “สนใจ”
7. หากต้องการซื้อรวม พ.ร.บ. และต้องการให้ส่งด่วน ติ๊กถูกด้านหน้าได้เลย เสร็จแล้วกด “ซื้อเลย”
8. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบทุกช่อง
9. กรอกข้อมูลรถยนต์ที่ทำประกันภัยให้ครบถ้วน
10. เลือกการจัดส่งเอกสารที่สะดวก
11. ตรวจเช็กรายละเอียด และความถูกต้องอีกครั้ง
12. เลือกรูปแบบการชำระเงินที่ต้องการ และติ๊กถูกยอมรับเงื่อนไขและข้อกำหนด จากนั้นกดชำระเงิน
13. เมื่อชำระเงินเรียบร้อบ ให้กรอกแบบฟอร์มแจ้งการชำระเงิน พร้อมแนบไฟล์สลิป เสร็จแล้วกดยืนยันรายการ

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถซื้อประกันออนไลน์กับ 724 ประกันออนไลน์ได้แล้ว อีกทั้งหากสมัครสมาชิก คุณจะได้รับส่วนลดพิเศษในการซื้อประกันอีกด้วย

นอกจากนี้ 724 ประกันออนไลน์ ยังมีประกันให้คุณเลือกมากมาย แถมยังซื้อง่าย ทำเองได้ผ่านระบบออนไลน์ และซื้อได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ทั้งประกันรถชั้น 1, ประกันรถชั้น 2+, ประกันรถชั้น 3+ ฯลฯ 

ประกันรถยนต์ เลือกแบบไหนดี

ประกันแต่ละประเภท คุ้มครองอย่างไร

car-insure

รถ 1 คัน ต้องมี 3 อย่าง

 

  • ซื้อประกันรถยนต์ชั้นไหนดี? ให้เลือกจากความคุ้มครอง เช่น ต้องการความคุ้มครองทุกกรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุควรเลือกประกันชั้น 1 แต่ถ้าเรามีประสบการณ์ในการขับรถมาระยะหนึ่งแล้วไม่มีแจ้งเคลมเลือกประกันชั้น 2+ แทนได้ ถ้ารถของเราใช้งานไม่บ่อยนักขับอยู่แถวบ้านเลือกประกันชั้น 3+ เพื่อประหยัดค่าเบี้ยได้และถ้ารถของเรานานๆ ขับทีเลือกประกันชั้น 3 ก็เพียงพอแล้ว
  • ประกันชั้น 1 คุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนทุกกรณี รถหาย น้ำท่วม ไฟไหม หรือพายุลูกเห็บเหมาะกับรถป้ายแดงหรือรถใหม่ และคนที่ยังขับรถไม่คล่องหรือคนที่รักรถ
  • ประกันชั้น 2+ คุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถชนกับรถที่มีทะเบียนและระบุคู่กรณีได้ นอกจากนั้นความคุ้มครองเหมือนประกันชั้น 1  สำหรับผู้ขับขี่ที่ชำนาญและไม่ค่อยแจ้งเคลมและสนใจเบี้ยประกันที่ถูกลง
  • ประกันชั้น 3+ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากชนทั้งรถของเราและรถของคู่กรณี บางแพ็กเกจคุ้มครองน้ำท่วมด้วย เหมาะกับรถที่ขับในเส้นทางที่คุ้นเคยและต้องการประหยัดงบ
  • ประกันชั้น 3 คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากชนรถคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับรถที่จอดอยู่บ้านไม่ค่อยได้ใช้งานและต้องการทำประกันรถยนต์กันไว้เท่านั้น เบี้ยประกันย่อมเยาว์ที่สุดแล้ว

ก่อนที่เราจะเลือกประกันชั้นไหน? เราก็ควรต้องทำความรู้จักประกันแต่ละชันก่อนว่าจริงๆ แล้วประกันรถยนต์มีกี่ชั้น? และแต่ละชั้นนั้นให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง? จึงจะเลือกให้เหมาะกับตัวเราเองได้แบบตรงกับความต้องการที่สุด กันด้วยครับ
เรามาเริ่มจากการทำความรู้จักประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ซึ่งภาคบังคับตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.) กันก่อนนะครับสำหรับเพื่อนๆ ที่สงสัยว่าทำไมต้องซื่อประกันรถยนต์ด้วย? ก็เพราะว่าความคุ้มครองของ พ.ร.บ. นั้นครอบคลุมเฉพาะเรื่องค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ค่าซ่อมรถหรือความเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นนั้นไม่คุ้มครอง (เรียกง่ายๆ ว่าต้องจ่ายเอง) เราจึงควรทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้เผื่ออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจะได้มีคนช่วยดูแลค่าใช้จ่ายไงครับ

ความคุ้มครองของประกันรถแต่ละชั้น

ประกันรถยนต์ชั้น 1

เป็นประกันที่ตอบโจทย์ทุกอย่างในการให้ความคุ้มครองที่เกิดจากการชน รถป้ายแดงทุกคันมักจะได้รับการยัดเยียด เอ้ย..ได้รับของแถมเป็นประกันชั้น 1 กันอยู่แล้วซึ่งความคุ้มครองของประกันที่ว่านี้ แยกออกเป็น 3 หมวดหมู่ คือ
1.ความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัย
ซึ่งก็คือความคุ้มครองรถยนต์ของเราคันที่ทำประกันนั่นเอง เจ้าความคุ้มครองที่ว่านี้รวมไปถึงความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับรถยนต์ด้วยกันเองและการชนสิ่งที่ไม่ใช่รถด้วย เช่น ชนเสาไฟฟ้า ชนรั้วบ้าน หรือล้อแม็กครูดฟุตบาท หรือกรณีรถหายจากการถูกโจรกรรม รถโดนไฟไหม้ และรถโดนน้ำท่วมด้วย
2.ความคุ้มครองภัยพิเศษ
ความคุ้มครองนี้เพื่อความคลอบคลุมภัยที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิด เช่น ภัยก่อการร้ายเมื่อมีการประกาศโดยรัฐบาล อุบัติเหตุส่วนบุคคลเมื่อคนขับหรือผู้โดยสารเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ค่ารักษาพยาบาลเมื่อคนขับและผู้โดยสารในรถได้รับบาดเจ็บ และการประกันตัวผู้ขับขี่เมื่อเกิดคดีอาญาและต้องส่งฟ้องศาล
3.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ความคุ้มครองแบบสุดท้าย คือ คุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลภายนอก(ทรัพย์สินของคนอื่นๆ ที่เราขับรถไปชนหรือเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ) และคุ้มครองบุคคลภายนอก(เมื่อเกิดการสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และเกี่ยวข้องกับสุขภาพ)

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ประกันรถที่คุ้มครองการชนจากรถชนรถ(รถที่มีป้ายทะเบียน)หรือการชนที่ระบุคู่กรณีได้เท่านั้น ส่วนความคุ้มครองที่เหลือเหมือนกับประกันชั้น 1 แยกออกเป็น 3 หมวดหมู่ เช่นเดียวกัน
1.ความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัย
คุ้มครองรถยนต์ของเราจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับรถยนต์ด้วยกันเท่านั้น การชนสิ่งที่ไม่ใช่รถไม่คุ้มครองนะครับ ส่วนรถหายจากการถูกโจรกรรม รถไฟไหม้ และรถน้ำท่วมคุ้มครองเหมือนชั้น 1 ตามทุนประกันทุกประการ
2.ความคุ้มครองภัยพิเศษ
ภัยที่เราไม่คาดคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยก่อการร้าย อุบัติเหตุส่วนบุคคลเมื่อเกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บ และการประกันตัวผู้ขับขี่เมื่อต้องส่งฟ้องศาลจากคดีอาญา
3.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลภายนอก(ทรัพย์สินของคนอื่นๆ ที่เราขับรถไปชนหรือเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ) และคุ้มครองบุคคลภายนอก(เมื่อเกิดการสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และเกี่ยวข้องกับสุขภาพ) ก็คุ้มครองเช่นเดียวกับประกันชั้น 1 ครับ

ประกันรถยนต์ชั้น 3+

ประกันที่คุ้มครองการชนจากรถชนรถหรือการชนที่ระบุคู่กรณีได้เท่านั้น และยังดูแลค่าซ่อมทั้งรถของเราเองและรถคู่กรณีด้วย
1.ความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัย
คุ้มครองรถยนต์จากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับรถยนต์ด้วยกันเท่านั้น การชนสิ่งที่ไม่ใช่รถไม่คุ้มครองนะครับ
2.ความคุ้มครองภัยพิเศษ
คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลเมื่อเกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บ และการประกันตัวผู้ขับขี่เมื่อต้องส่งฟ้องศาลจากคดีอาญาครับ แต่บางแพ็กเกจยังมีความคุ้มครองรถโดนน้ำท่วมด้วยนะครับ
3.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คุ้มครองทรัพย์สินของคนอื่นๆ ที่เราขับรถไปชนหรือเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ และคุ้มครองบุคคลภายนอกเมื่อเกิดการสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และเกี่ยวข้องกับสุขภาพ

ประกันรถยนต์ชั้น 3

ประกันที่คุ้มครองการชนจากรถชนรถหรือการชนที่ระบุคู่กรณีได้เท่านั้นและดูแลค่าซ่อมเฉพาะรถคู่กรณี
1.ความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัย
คุ้มครองรถยนต์จากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับรถยนต์ของคู่กรณีเท่านั้น
2.ความคุ้มครองภัยพิเศษ
คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลเมื่อเกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บ และการประกันตัวผู้ขับขี่เมื่อต้องส่งฟ้องศาลจากคดีอาญาเหมือนชั้น 3+ ครับ
3.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คุ้มครองทรัพย์สินของคนอื่นๆ ที่เราขับรถไปชนหรือเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ และคุ้มครองบุคคลภายนอกเมื่อเกิดการสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และเกี่ยวข้องกับสุขภาพเช่นเดียวกันกับชั้น 3+

เปรียบเทียบ เบี้ยประกันทันใจ ภายใน 5 คลิก

คนมีรถต้องรู้ ภาษีรถต้องต่อทุกปี ทำง่ายๆ ได้เอง

motor-vehicle taxขั้นตอนการ ต่อภาษีรถ ด้วยตัวเอง และค่าใช้จ่ายในการต่อภาษี

สำหรับนักขับทุกท่านหลายครั้งที่เรามักจะเจอกับด่านตรวจ โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะเพ่งเล็งมาที่ป้ายภาษีรถของเรา หากป้ายภาษีใกล้หมดเราควรดำเนินต่อภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับจากเจ้าหน้าที่ การต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย และรถยนต์ที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีจะถูกระงับทะเบียนรถยนต์นั้นๆ ถูกยึดเลขและป้ายทะเบียน ต้องไปทำเรื่องที่ขนส่งเพื่อขอทำทะเบียนใหม่ ซึ่งก็ยุ่งยากไปอีกดังนั้นเราควรไปต่อภาษีไว้ก่อน ขั้นตอนการเสียภาษีรถนั้นมีทั้งการใช้บริการบริษัทฯเอกชนที่รับจ้างดำเนินการ(เสียค่าบริการเพิ่ม) และการต่อภาษีด้วยตนเองซึ่งไม่มีอะไรยากและทำได้เร็วกว่าจ้างบริษัทฯเอกชนให้ต่อภาษีให้ วันนี้จะมาแนะนำวิธีการต่อภาษีรถด้วยตนเอง และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการต่อภาษี

car-tax

***บริการรับต่อภาษี ส่งถึงหน้าบ้าน สอบถามเพิ่มเติม ***

add-line

ต่อภาษีต้องรถยนต์ต้องเอาอะไรไปบ้าง

ขั้นแรกของการต่อภาษีรถยนต์ เราจำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญในการใช้ต่อการต่อทะเบียนรถยนต์ให้พร้อม โดยเอกสารเหล่ามีด้วยกัน ตามนี้

  1. เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้
  2. เอกสาร พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ
  3. ใบตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  4. ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส

act-of-legislation

*สามารถชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด

เมื่อเอกสารครบแล้ว ก็มาดูกันในส่วนของช่องทางการชำระภาษีช่องทางต่างๆ กันบ้าง ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายช่องทาง ดังนี้

1. ชำระด้วยตนเองที่กรมการขนส่งทางบก

2. บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax)

3. ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

4. ชำระผ่านแอพพลิเคชั่น

5. ชำระผ่านธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์

6. ชำระผ่านเว็บไซต์คลิก

ดูเพิ่มเติม คลิก

เช็คภาษีด้วยตนเอง check-tax-car

ประเภทรถที่ให้บริการ

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) หรือ รถเก๋ง
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน (รย.2) หรือ รถตู้ และรถสองแถว
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) หรือ รถปิคอัพ
  • รถจักรยานยนต์ (รย.12)

ไปต่อภาษีรถยนต์ต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายสำหรับการไปต่อภาษีรถยนต์ กรมขนส่งจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามขนาดความจุของกระบอกสูบ (ซีซี) โดยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จะมีการคิดภาษีดังนี้

1.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) คือ  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้

600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท

601 – 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท

เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

ปีที่ 6 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 10

ปีที่ 7 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 20

ปีที่ 8 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 30

ปีที่ 9 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 40

ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ลดหย่อนได้ ร้อยละ 50

*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)

2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท

น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท

น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท

น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท

น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท

น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท

น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท

3.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท

น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี  1,600 บาท

*รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน*

#ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถ #ต่อภาษีรถ #ป้ายภาษีรถ #พ.ร.บ. #ภาษีรถ